เมื่อกำหนดพื้นที่วิจัยซึ่งอยู่ใน เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าลันจัก รัฐซาราวัก เราจึงวางแผนการทำงานวิจัย และอนุรักษ์นกเงือก ซึ่งวิธีการก็ไม่แตกต่างจากบ้านเราสำหรับที่นี่เป็นการเริ่มต้นเพราะยังไม่มีการทำวิจัยเรื่องนกเงือกมาก่อน
เนื่องจากเคยเป็นป่าสัมทานต้นไม้ใหญ่ที่นกเงือกใช้ทำรังนั้นมีอย่างจำกัดเพราะถูกตัดโค่น เราจึงทำการสำรวจโพรงรังซึ่งส่วนใหญ่นกไม่สามารถใช้ทำรังได้จำนวน 49 โพรง ทีมงานได้ทำการปรับปรุงและซ่อมแซมพร้อมใช้งาน รวมถึงการจัดสร้างโพรงเทียมเพิ่มโดยทดลองติดตั้งก่อนจำนวน 10โพรงเพื่อให้นกเงือกได้ใช้ในฤดูทำรัง
นกเงือกที่นี่จะเริ่มสำรวจ และเข้าโพรงในเดือนมกราคมถึงเดือนมีนาคม
นอกจากสำรวจปรับปรุง ซ่อมแซม และการสร้างโพรงเทียมก็มีการศึกษาชีพลักษณ์ของพืช อาหารนก พร้อมทั้งแนะนำวิธีการต่างๆ ให้กับทีมงานป่าไม้ของเขาด้วยเช่นการหารังนกเงือก วิธีการปีนต้นไม้เพื่อซ่อมรัง การทำโพรงเทียมและวิธีติดตั้ง ซึ่งงานเหล่านี้เราเคยทำในเมืองไทยมาก่อนจึงไม่ยากนัก
คงต้องรอลุ้นกันต่อไปสำหรับงานที่ท้าทายในต่างแดน เหนืออื่นใดสำหรับผม คือ ความภูมิใจที่ได้มีโอกาสร่วมงาน และได้นำประสบการณ์มาใช้ในการช่วยเหลือนกเงือกให้คงอยู่ในธรรมชาติสืบไป
ไม่ว่าที่ใดในโลกที่มีนกเงือกผมไปได้หมด
เรื่องและภาพ : ปรีดา เทียนส่งรัศมี
ทีมงานได้ทำการปรับปรุงและซ่อมแซมพร้อมใช้งาน รวมถึงการจัดสร้างโพรงเทียมเพิ่มโดยทดลองติดตั้งก่อนจำนวน 10โพรงเพื่อให้นกเงือกได้ใช้ในฤดูทำรัง